ยาราคาซองละ 230 ฿ ค่าจัดส่ง Ems 40 ฿
วันอังคารที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2557
หูดหงอนไก่
หูดหงอนไก่เกิดได้อย่างไร?
ใครมีปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดหูดหงอนไก่?
ที่มา : http://haamor.com/
http://warts59.wordpress.com/
หูดหงอนไก่เกิดได้อย่างไร?
สาเหตุของโรคหูดหงอนไก่
คือการที่อวัยวะเพศผู้ป่วยติดเชื้อไวรัส เอชพีวี (HPV) โดยปัจจุบันพบได้ทั้งหมดประมาณ
100 สายพันธุ์ย่อย บางสายพันธุ์ก่อให้เกิดหูดที่ผิวหนัง บางสายพันธุ์ทำให้เกิดหูดหงอนไก่
บางสายพันธุ์เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งในระบบสืบพันธุ์ (เช่น
มะเร็งปากมดลูก) และต่อการเกิดมะเร็งทวารหนัก
ประมาณ 90% ของหูดหงอนไก่นั้น เกิดจากสายพันธุ์ย่อย HPV 6, และ
11 ซึ่งมีโอกาสทำให้เกิดโรคมะเร็งค่อนข้างต่ำ ส่วนHPV ชนิดที่เพิ่มโอกาสเกิดโรคมะเร็งในระบบสืบพันธุ์และทางเดินอุจจาระ
คือ HPV 16, และ 18
เมื่อผิวหนังได้รับเชื้อ/ติดเชื้อ HPV ผ่านทางรอยถลอกที่ผิวหนัง
จะมีระยะฟักตัวของโรคที่ยังไม่แสดงอาการของโรคได้หลายเดือนหรือหลายปี
ซึ่งเมื่อผ่านระยะฟักตัวแล้ว เชื้อไวรัสก็จะมีการแบ่งตัวเพิ่มมากขึ้นๆ
ส่งผลให้เกิดการสร้างเซลล์ที่ผิดปกติในชั้นผิวหนัง โดยทั่วไปร่าง
กายจะสามารถกำจัดไวรัสชนิดนี้ได้เอง ส่วนน้อยที่เชื้อไวรัสไม่ถูกกำจัด
และหากเป็นไวรัสสายพันธุ์รุนแรง ก็มีโอกาสเกิดเป็นมะเร็งในตำแหน่งติดเชื้อนั้นได้
แหล่งของเชื้อ HPV นั้นสามารถพบได้จากการสัมผัสรอยโรคโดยตรง
คือทางเพศสัมพันธ์กับคนที่ติดเชื้อนี้
สำหรับหูดหงอนไก่นั้นถึงแม้เป็นเชื้อไวรัสชนิดเดียวกับหูดทั่วไป คือเป็นเชื้อไวรัส
HPV แต่การติดต่อหลัก
คือการติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การใช้สิ่งของร่วมกัน เช่น ฝาสุข ภัณฑ์
ไม่ทำให้ติดหูดหงอนไก่ได้
ผู้มีปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดหูดหงอนไก่ คือ
●ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่มีการป้องกันด้วยถุงยางอนามัย มีโอกาสติดเชื้อ HPV
จากคู่นอนที่เป็นโรคนี้ได้
●เนื่องจากหูดหงอนไก่เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หากพบหูดหงอนไก่ในเด็ก จำเป็นต้องสืบหาเกี่ยวกับการข่มขืนกระทำชำเราเด็กด้วย
●การมีคู่นอนหลายคน หรือมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่ยังน้อย เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคหูดหงอนไก่
หูดหงอนไก่มีอาการอย่างไร?
อาการของหูดหงอนไก่ คือ
●รอยโรคที่เกิดหูดหงอนไก่ อาจมีอาการคัน หรือไม่มีอาการใดๆเลยก็ได้
●บริเวณที่พบ
เนื่องจากหูดหงอนไก่พบได้ตามเนื้อเยื่อร่างกายชนิดที่สามารถสร้างเมือกที่เรียก ว่า
เนื้อเยื่อเมือก (Mucosa) จึงพบหูดหงอนไก่เกิดได้ที่ อวัยวะเพศ ท่อปัสสาวะ ปากมดลูก ทวารหนัก ช่องปาก
ในลำคอ และสามารถพบเกิดได้หลายๆตำแหน่งในผู้ป่วยรายเดียวกัน เช่น
ผู้ป่วยที่พบรอยโรคหูดหงอนไก่ที่อวัยวะเพศ หากมีประวัติมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก
ก็อาจพบโรคในบริเวณทวารหนักด้วย
●ลักษณะรอยโรค มีได้หลายรูปแบบทั้งขนาดและรูปร่าง อาจมีลักษณะเป็นตุ่มเดียว, หลายตุ่ม, หรือมีขนาดใหญ่คล้ายดอกกะหล่ำ, หรือหงอนไก่, สีชมพู
หรือสีเนื้อผิวขรุขระ
●อาการของโรคจะเป็นมาก/ก้อนเนื้อหูดใหญ่ขึ้น และ/หรือเพิ่มจำนวนมากขึ้น
ในคนท้อง หรือในคนที่มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคบกพร่อง
ผลของการรักษาโรคหูดหงอนไก่
ผลของการรักษาโรคหูดหงอนไก่ คือ
●หลังจากเนื้อเยื่อติดเชื้อ HPV ผู้ติดเชื้อนั้นอาจเป็นได้ทั้ง
3 กรณีคือ รอยโรคหายไปได้เอง, รอยโรคเป็นอยู่เท่าเดิม, หรือรอยโรคเป็นมากขึ้น
●การกลับเป็นซ้ำในรายที่รอยโรคหายไปแล้วนั้น อาจเกิดได้ทั้งจากการติดเชื้อ HPV ใหม่ หรือจากเชื้อไวรัส HPV ที่ฟักตัวตกค้างอยู่ในผิวหนัง
มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า จึงไม่ได้รับการรักษาให้หมดไปจากการรักษาครั้งแรก
ที่มา : http://haamor.com/
http://warts59.wordpress.com/
วิธีใช้ยา
รูปแบบยา ครีม
ยานี้ใช้สำหรับ
เป็นครีมสำหรับทาเพื่อรักษาหูดบริเวณอวัยวะเพศ หรือทวารหนัก แต่ไม่มีฤทธิ์ฆ่าไวรัสที่เป็นสาเหตุของหูด
เป็นครีมสำหรับทาเพื่อรักษาอาการผิวหนังหนาด้านจากการถูกแดดเป็นเวลานาน (acnitic keratosis)
เป็นครีมสำหรับทาผิวหนังเพื่อรักษาโรคมะเร็งผิวหนังชนิดหนึ่งที่เรียกว่า superficial basal cell cancer
วิธีใช้ยา
สิ่งที่ควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทราบ
การแพ้ยา imquimod หรือยาอื่นๆ การแพ้อาหาร, สารแต่งสี หรือวัตถุกันเสีย
การตั้งครรภ์ การวางแผนในการตั้งครรภ์ หรือการให้นมบุตร
หากดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ คาเฟอีน หรือสูบบุหรี่
ทำอย่างไรหากลืมรับประทานยาหรือใช้ยา
ให้ทายาทันทีที่นึกได้ แต่ถ้าเป็นเวลาที่ใกล้กับการทายาครั้งต่อไป ให้ข้ามไปทายาครั้งต่อไปเลยโดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็นสองเท่า
อาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา
1) อาการอันไม่พึงประสงค์ที่ต้องแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทันที
มีดังนี้ แผลเปิดมีหรือไม่มีหนอง การติดเชื้อบริเวณผิวหนัง ผื่นที่ผิวหนัง ความผิดปกติของผิวหนัง
เก็บให้พ้นมือเด็ก
เก็บยานี้ที่อุณหภูมิห้อง (อุณหภูมิระหว่าง 4-25 องศาเซลเซียส) ไม่ควรแช่แข็ง
ทิ้งยานี้เมื่อยาหมดอายุ
รูปแบบยา ครีม
ยานี้ใช้สำหรับ
วิธีใช้ยา
สำหรับการใช้ยาเพื่อรักษาหูดบริเวณอวัยวะเพศ และทวารหนัก ให้ทายาบางๆ และนวดเบาๆ ก่อนนอน วันเว้นวัน (3 ครั้งต่อสัปดาห์) จนกระทั่งหูดค่อยๆ ยุบหายไป ไม่ควรใช้ยาต่อเนื่องกันเกิน 16 สัปดาห์ (หลีกเลี่ยงการทายาในช่องคลอดหรือในทวารหนัก เนื่องจากผิวหนังบริเวณดังกล่าวบางและชุ่มชื้นอาจทำให้เกิดอาการบวมและแสบได้) ล้างออกหลังทายาไปแล้ว 6-10 ชั่วโมง หลังทายา (หรือช่วงตื่นนอน) ด้วยสบู่อ่อนและน้ำสะอาด สำหรับการรักษาหูด หากต้องทายาบริเวณอวัยวะเพศ ควรหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ ก่อนหูดจะหายเนื่องจากตัวยามีส่วนประกอบของน้ำมันซึ่งอาจทำให้ส่วนประกอบที่เป็นยางของอุปกรณ์คุมกำเนิด เช่น ถุงยางอนามัย, ไดอะแฟรม หรือหมวกครอบปากมดลูก อ่อนตัวลง และมีโอกาสเสียหายระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ สำหรับการใช้ยาเพื่อรักษาอาการผิวหนังหนาด้านจากการถูกแดดเผา (actinic keratosis) ทายาบริเวณที่เป็นสัปดาห์ละ 2 ครั้ง (แต่ละครั้งห่างกัน 3-4 วัน) เป็นเวลา 16 สัปดาห์ ทาทิ้งไว้ประมาณ 8 ชั่วโมง จากนั้นล้างออกด้วยสบู่อ่อนและน้ำสะอาด ปกติจะทายาก่อนนอนและตื่นมาอาบน้ำตอนเช้า ไม่ควรทายาเป็นบริเวณกว้างกว่า 2x2 นิ้ว สำหรับการใช้ยาเพื่อรักษา superficial basal cell cancer ให้ทายานี้บริเวณที่เป็น สัปดาห์ละ 5 ครั้ง เช่น ทาทุกคืนวันจันทร์ถึงศุกร์ก่อนนอน ติดต่อกันเป็นเวลา 6 สัปดาห์ เมื่อตื่นนอนแล้วล้างออกด้วยสบู่อ่อนและน้ำสะอาด สำหรับการรักษา actinic keratosis หรือ superficial basal cell cancer อาจเห็นตุ่มที่ไม่เคยสังเกตมาก่อนเกิดขึ้นระหว่างการใช้ยาแล้วหายไป และผิวหนังบริเวณที่ทายากับบริเวณรอบๆ สีอาจแตกต่างกัน เนื่องจากตัวยา imiquimod ไม่ได้ฆ่าเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของหูด ดังนั้นระหว่างการรักษาหรือหลังการรักษาอาจเกิดหูดขึ้นมาใหม่ได้ หลีกเลี่ยงการใช้ยาบริเวณริมฝีปาก ดวงตา และจมูก ไม่ควรปิดผิวหนังบริเวณที่ทายาด้วยผ้าพันแผลหรือพลาสเตอร์ ไม่ควรใช้ยานี้ติดต่อกันนานเกินระยะเวลาที่แพทย์กำหนด เนื่องจากจะเพิ่มโอกาสการเกิดผลข้างเคียง ทิ้งภาชนะบรรจุยาทันทีที่ใช้ยาเสร็จ ส่วนที่เหลือไม่ควรเก็บเพื่อนำมาใช้ต่อ
สิ่งที่ควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทราบ
ทำอย่างไรหากลืมรับประทานยาหรือใช้ยา
อาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา
1) อาการอันไม่พึงประสงค์ที่ต้องแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทันที
มีดังนี้ แผลเปิดมีหรือไม่มีหนอง การติดเชื้อบริเวณผิวหนัง ผื่นที่ผิวหนัง ความผิดปกติของผิวหนัง
2) อาการอันไม่พึงประสงค์อื่นที่อาจเกิดระหว่างใช้ยา หากเป็นต่อเนื่อง หรือ รบกวนชีวิตประจำวัน ให้ แจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทราบ
มีดังนี้ ผิวหนังบวม ผิวหนังหนาและแข็งขึ้น ผิวลอก ผิวหนังเป็นสะเก็ด ปวดกล้ามเนื้อ ผิวหนังแดง (พบได้บ่อย แต่มักไม่เจ็บ และไม่เป็นอันตราย) ปวดศีรษะ อาการคล้ายจะเป็นไข้หวัด ท้องเสีย สีของผิวหนังเปลี่ยนแปลง คัน แสบร้อนผิวหนัง ปวดหลัง
มีดังนี้ ผิวหนังบวม ผิวหนังหนาและแข็งขึ้น ผิวลอก ผิวหนังเป็นสะเก็ด ปวดกล้ามเนื้อ ผิวหนังแดง (พบได้บ่อย แต่มักไม่เจ็บ และไม่เป็นอันตราย) ปวดศีรษะ อาการคล้ายจะเป็นไข้หวัด ท้องเสีย สีของผิวหนังเปลี่ยนแปลง คัน แสบร้อนผิวหนัง ปวดหลัง
การเก็บรักษายา
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)